Relationship between Quality Practice Metrics and Treatment Outcomes in Hospitalized Cirrhotic Patients

Relationship between Quality Practice Metrics and Treatment Outcomes in Hospitalized Cirrhotic Patients

Natt Munsakul  Nalerdon Chalermsuksant  Supatsri Sethasine

Division of Gastroenterology and Hepatology, Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. 681 Samsen Road, Dusit District 10300, Bangkok, Thailand.

Asian Pac J Cancer Prev. 2024;25(12):4153-9.

DOI 10.31557/APJCP.2024.25.12.4153

มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็ง

เป็นสิ่งสําคัญโดยเฉพาะเมื่อเป็นผู้ป่วยตับแข็งที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล มาตรฐานการดูแลรักษาในทางปฏิบัติอาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินโรคและผลลัพธ์ของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์

เพื่อวัดมาตรฐานดัชนีชีวัดคุณภาพ (Quality index; QI) โดยการวัดจํานวนข้อคุณภาพและรายงานความสัมพันธ์ระหว่างข้อคุณภาพกับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยตามระยะความรุนแรงของโรค

วิธีการดําเนินการวิจัย

  • เป็น retrospective cohort ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ช่วง กันยายน พ.ศ. 2564 – มิถุนายน พ.ศ. 2565 ในคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล
  • กําหนด Quality index 18 ข้อแบ่งเป็นหัวข้อ 7 หมวดมาตรฐานได้แก่ หมวด ascites, Spontaneous bacterial peritonitis (SBP), varices bleeding, hepatic encephalopathy , acute kidney injury , hepatocellular carcinoma screening และการรักษาสาเหตุของโรค
  • ผู้ป่วยจะได้วัดข้อ QI ตามระยะของโรคตับแข็ง หากได้รับการดูแลรักษาครบเกณฑ์ทุก QI ตามระยะของโรคจะจัดอยู่ในกลุ่มการดูแลที่สมบูรณ์เหมาะสม (optimal care)
  • วิเคราะห์ Cox regression เพือหาอัตราการเสียชีวิตและอัตราการกลับนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 90 วันเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้และไม่ได้ optimal care

ผลการศึกษา

  • ผู้ป่วยทั้งหมด 205 ราย ร้อยละ 73.2 เป็นเพศชาย อายุเฉลีย 62.7 ± 11.8 ปี ค่ามัธยฐานคะแนนเมลด์ =15.35, (9.37, 21.37) และส่วนใหญ่เป็น Child- Pugh B และ Cโดยผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 20.5 และอัตราการกลับนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 90 วัน ร้อยละ 32.7
  • เป้าหมายการดูแลรักษาสามารถกําหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ใน QI 13 ข้อ โดยบรรลุเป้าหมาย 5 ข้อ (ร้อยละ 38.4) การทํา paracentesis การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 12 ชม.หลังการวินิจฉัย SBP และ การค้นหาปัจจัยกระตุ้นและการรักษา Hepatic encephalopathy ด้วย lactulose เป็น QI ทีบรรลุเป้าหมายในเปอร์เซ็นต์ที่สูงสุด
  • การวิเคราะห์ Kaplan-Meier ในผู ้ป่วย Child- Pugh C พบว่า optimal care สามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตที่ 30 วันและ 90 วัน เมื่อเทียบกับ non-optimal care (ร้อยละ 100 vs ร้อยละ 43.5; p = 0.022); (ร้อยละ 100 vs ร้อยละ 26.1; p = 0.022) ตามลำดับ

บทสรุป

  • การนําดัชนีชีวัดคุณภาพมาช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคตับแข็งให้เหมาะกับระยะของโรคเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน การปฏิบัติตามแนวทางการรักษาโดยเฉพาะในผู้ป่วยตับแข็งระยะท้ายทําให้ลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำ

คําหลัก: Quality of care, Cirrhosis, Process-based measurement, Clinical outcome

Share This: