Effect of a Ketogenic Diet on Metabolic Dysfunction-Associated Steatotic Liver Disease (MASLD) Progression : A Randomized Controlled Trial

Effect of a Ketogenic Diet on Metabolic Dysfunction-Associated Steatotic Liver Disease (MASLD) Progression : A Randomized Controlled Trial

Published in An open access journal of gastroenterology and hepatology (JGH Open)

Issue January 19th, 2025

doi: 10.1002/jgh3.70099. 

1.ที่มาและความสำคัญ

ในปัจจุบันโรคตับคั่งไขมัน(Metabolic dysfunction-associated steatotic liver disease หรือ MASLD) สามารถพบได้ถึง 1ใน4 ของประชากรโลก ซึ่งการดำเนินโรคอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด โดยทั่วไปโรคตับคั่งไขมันมักพบร่วมกับโรคอ้วนและกลุ่มอาการเมตาบอลิก การรักษาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก และการควบคุมหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งเสริมให้เกิดโรคตับคั่งไขมัน

แม้ว่าในปัจจุบันการรับประทานอาหารคีโตเจนิก (Ketogenic diet) จะได้รับความนิยมในแง่ของการลดน้ำหนักอย่างแพร่หลาย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาของประสิทธิภาพในการรับประทานอาหารคีโตเจนิกต่อการดำเนินของโรคของโรคตับคั่งไขมันที่ชัดเจน

2. ระเบียบการวิจัย

  • การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมแบบเปิด(Open-label, randomized controlled trial) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
  • ผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคตับคั่งไขมันจำนวน 24 ราย สุ่มแบ่งเป็น2กลุ่ม กลุ่มละ 12 ราย
    • กลุ่มที่หนึ่งจะได้รับประทานอาหารคีโตเจนิกแบบส่งถึงบ้าน ควบคุมพลังงานไม่เกิน 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยแบ่งสัดส่วนเป็น 5%จากคาร์โบไฮเดรต, 70% จากไขมัน และ 25% จากโปรตีน
    • กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมจะได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการและรับประทานอาหารแบบแดช (DASH diet) ควบคุมพลังงานไม่เกิน 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยแบ่งสัดส่วนเป็น 60%จากคาร์โบไฮเดรต, 25%จากไขมัน และ 15% จากโปรตีน

ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มจะได้รับการติดตามและควบคุมการรับประทานอาหารให้เป็นไปตามระเบียบการวิจัยโดยนักโภชนาการอย่างใกล้ชิด

ผลลัพธ์หลักคือการลดลงของปริมาณไขมันสะสมในตับ (Controlled Attenuation Parameter หรือ CAP) และการลดลงของความรุนแรงของพังผืดในตับ(Transient elastography หรือ TE)

3. ผลการศึกษา

  • ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่มทั้งปริมาณไขมันสะสมที่ตับและความรุนแรงของพังผืดในตับ
  • กลุ่มที่รับประทานอาหารคีโตเจนิกมีน้ำหนักลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม                                            mean change [ 95%CI], -6.16 [-7.22, -5.10] vs. -2.14 [-4.49, 0.21]
  • กลุ่มที่รับประทานอาหารคีโตเจนิกมีค่าAST, Triglyceride และ HDL ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

4 . ข้อสรุป

  • การรับประทานอาหารคีโตเจนิก โดยควบคุมพลังงานไม่เกิน 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน ทำให้ลดน้ำหนักได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการและรับประทานอาหารแบบแดชในช่วง 8 สัปดาห์แรก
  • อาหารคีโตเจนิกอาจมีความสัมพันธ์ในการลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคตับคั่งไขมัน
  • ถึงแม้ว่าอาหารคีโตเจนิกจะไม่ได้ลดปริมาณไขมันสะสมในตับและความรุนแรงของพังผืดในตับแต่ก็ไม่ทำให้โรคตับคั่งไขมันแย่ลง
  • จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยที่นานขึ้นและเพิ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้นเพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพในระยะยาวของอาหารคีโตเจนิก
Share This: