Procalcitonin and presepsin for detecting bacterial infection and spontaneous bacterial peritonitis in cirrhosis: A systematic review and meta-analysis

Procalcitonin and presepsin for detecting bacterial infection and spontaneous bacterial peritonitis in cirrhosis: A systematic review and meta-analysis
World J Gastroenterol. 2025 Feb 14;31(6):99506.
Salisa Wejnaruemarn, Paweena Susantitaphong, Piyawat Komolmit, Sombat Treeprasertsuk, Kessarin Thanapirom

Salisa Lertsanguansinchai, MD., M.Sc.
พญ.ศลิษา เลิศสงวนสินชัย

ความสำคัญของปัญหา

  • การวินิจฉัยการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคตับแข็งเป็นความท้าทาย เนื่องจากอาการแสดงมักไม่จำเพาะเจาะจง อีกทั้งการเพาะเชื้อยังต้องใช้ระยะเวลานาน
  • มีการศึกษาเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) เช่น โปรแคลซิโทนิน (procalcitonin) และพรีเซปซิน (presepsin) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มนี้
  • อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันยังให้ข้อสรุปที่ไม่แน่ชัด และยังคงเป็นประเด็นที่ต้องมีการศึกษาและสรุปเพิ่มเติม

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  • เพื่อประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของโปรแคลซิโทนินและพรีเซปซินในการวินิจฉัยการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคตับแข็ง

ผลการศึกษา

  • จากการทบทวนวรรณกรรมในฐานข้อมูล MEDLINE, EMBASE, และ Scopus พบว่ามีการศึกษาที่เข้าเกณฑ์จำนวน 28 ฉบับ รวมผู้ป่วย 4,287 ราย โดยพบว่ามีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 41.7
  • โปรแคลซิโทนินมีความไว (pooled sensitivity) ร้อยละ 73 และความจำเพาะ (pooled specificity) ร้อยละ 83 ในการวินิจฉัยการติดเชื้อโดยรวม โดยมี diagnostic odd ratio เท่ากับ 17.21
  • พรีเซปซินมีความไวร้อยละ 75 และความจำเพาะร้อยละ 80 ในการวินิจฉัยการติดเชื้อโดยรวม โดยมี diagnostic odd ratio เท่ากับ 12.33
  • ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของสารน้ำในช่องท้องแบบปฐมภูมิ (spontaneous bacterial peritonitis) โปรแคลซิโทนินมีความไวร้อยละ 76 และความจำเพาะร้อยละ 87 โดยมี diagnostic odd ratio สูงถึง 29.50 และมี positive likelihood ratio เท่ากับ 5.57

ข้อจำกัดของการศึกษา

  • การศึกษานี้มีความหลากหลายของข้อมูล (high heterogeneity) เนื่องจากมีการกำหนดค่า cut-off ของโปรแคลซิโทนินและพรีเซปซินที่แตกต่างกันในแต่ละการศึกษา
  • จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการศึกษาสำหรับพรีเซปซินยังมีจำกัด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเนื่องในอนาคต

สรุป

  • โปรแคลซิโทนินและพรีเซปซินมีความไวและความจำเพาะสูงในการวินิจฉัยการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • โปรแคลซิโทนินยังมีศักยภาพสูงในการใช้เป็นเครื่องมือวินิจฉัยยืนยัน (rule-in test) สำหรับการติดเชื้อของสารน้ำในช่องท้องแบบปฐมภูมิ
Share This: