Association between serum endocan levels and organ failure in hospitalized patients with cirrhosis

Association between serum endocan levels and organ failure in hospitalized patients with cirrhosis
PLoS One. 2024 Dec 26;19(12):e0315619.
Salisa Wejnaruemarn, Sirinporn Suksawatamnuay, Jakapat Vanichanan, Piyawat Komolmit, Sombat Treeprasertsuk, Kessarin Thanapirom

Salisa Lertsanguansinchai, MD., M.Sc.
พญ.ศลิษา เลิศสงวนสินชัย

ความสำคัญของปัญหา

  • ภาวะตับวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง (acute-on-chronic liver failure) เป็นภาวะที่มีความรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยเกิดจากกลไกการอักเสบ ส่งผลให้เกิดการล้มเหลวของอวัยวะหลายระบบ
  • การค้นหาดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัยหรือทำนายโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วขึ้นและลดอัตราการเสียชีวิตได้
  • เอนโดแคน (endocan) เป็นโปรตีนที่ถูกหลั่งจากเซลล์เยื่อบุหลังได้รับกระตุ้นจากกระบวนการอักเสบ ซึ่งเป็นกลไกเบื้องต้นที่นำไปสู่ภาวะอวัยวะล้มเหลว การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาบทบาทของเอนโดแคนในการวินิจฉัยภาวะอวัยวะล้มเหลวและความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  • เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ความไวและความจำเพาะของเอนโดแคนและภาวะอวัยวะล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับแข็ง โดยเปรียบเทียบกับโปรแคลซิโทนิน (procalcitonin) และอินเตอร์ลิวคิน-6 (IL-6)

ผลการศึกษา

  • จากจำนวนผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 116 ราย พบว่าร้อยละ 47.4 มีภาวะอวัยวะล้มเหลว
  • กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลวมีระดับเอนโดแคนในเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีอวัยวะล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญ
  • เอนโดแคนที่ระดับ 15.8 นก./มล. มีความไวร้อยละ 63.6 และความจำเพาะร้อยละ 67.2 ในการวินิจฉัยภาวะอวัยวะล้มเหลว และมี area under the receiver operating characteristic curve เท่ากับ 0.65 ไม่แตกต่างกับโปรแคลซิโทนิน (procalcitonin) หรืออินเตอร์ลิวคิน-6 (IL-6) อย่างมีนัยสำคัญ
  • เอนโดแคน, คริเอทินีน (creatinine) และบิลิรูบิน (bilirubin) เป็นปัจจัยอิสระที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอวัยวะล้มเหลวในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เสียชีวิตที่ 28 วันหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีระดับเอนโดแคนในเลือดสูงกว่ากลุ่มที่รอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อจำกัดของการศึกษา

  • การศึกษานี้ยังขาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบความถูกต้อง (validation cohort) จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์ให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
  • การใช้เอนโดแคนในการพยากรณ์ภาวะอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยโรคตับแข็งล่วงหน้าอาจก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนแนวทางดังกล่าว

สรุป

  • เอนโดแคนมีความสัมพันธ์กับภาวะอวัยวะล้มเหลวและการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Share This: