การจัดประชุม
- จัดงานประชุม APASL 2021 รูปแบบ Virtual Conference ครั้งแรก 4-6 ก.พ. 2564 / ผู้เข้าร่วมประชุม 1,218 คน จาก 43 ประเทศ / 428 abstracts
- จัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2564 ระหว่าง วันที่ 16-18 กันยายน 2564 ในรูปแบบ Virtual Meeting เป็นครั้งแรก ผู้ลงทะเบียน 1,000 คน แบ่งเป็น สมาชิก 276 คน / ไม่ใช่สมาชิก 640 คน / ไม่ใช่แพทย์ 84 คน
- THASL 2022 ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน 209 คน แบ่งเป็น สมาชิก 91 คน / บุคคลทั่วไป 79 คน / วิทยากร chairperson & committee 39 คน
- THASL 2022 มีบริษัทออกบูธจำนวน 23 บริษัท / 33 บูธ / 7 symposia
ด้านวิชาการ
- กำหนดเกณฑ์จำเพาะของผู้ป่วยด้วยโรคตับที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ซึ่งมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคตับ ส่งให้ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ฯ
- ประชุม High-Level Meeting ร่วมกับ ดร. เบอร์นาร์ด พีคูล (Dr.Bernard Pécoul) ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2020 วันที่ 25 มกราคม 2565 ผู้แทนสมาคมโรคตับ ฯ ศ.นพ.พิสิฐตั้งกิจวานิชย์
- ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ และ ศ.นพ. ทวีศักดิ์ แทนวันดี เป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดำเนินงานโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี 9 กุมภาพันธ์ 2565
- ประชุมการจัดทำ Alcoholic Liver Disease Guideline (งานต่อเนื่องถึงวาระปัจจุบัน)
- คัดเลือก APASL 2021 Clips สำหรับ APASL E-learning Program
- ร่างหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคตับปีที่ 3 (งานต่อเนื่องถึงวาระปัจจุบัน)
- THASL E-learning Program หัวข้อ การดูแลรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ เพื่อรับประกาศนียบัตรจากกรมควบคุมโรค และ สมาคมโรคตับ ฯ อบรมผ่านช่องทาง MDCU Med U More
ด้านการพลักดันยา และ สิทธิประโยชน์
- สมาคมโรคตับ ฯ ได้เสนอให้ยา Tenofovir Alafenamide (TAF) เป็นยาลำดับแรกในการรักษาไวรัสตับอักเสบบี กระบวนการทั้งหมดได้ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการยาโรคระบบทางเดินอาหารเมื่อ ก.พ. 2564
- สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ขอนำส่งเอกสารเสนอหัวข้อปัญหาและ / หรือเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ปี 2565
จำนวน 2 หัวข้อดังนี้
1.การให้แอลบูมิน (albumin) ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะติดเชื้อของน้ำในท้อง (spontaneous bacterial peritonitis – SBP)
2.การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับด้วย GALAD Score
- ขอปรับเกณฑ์อนุมัติการใช้ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
- ประชุมหารือการเตรียมระบบข้อมูลติดตามผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เพื่อรับรอง สิทธิประโยชน์ด้านการรักษา 14 มี.ค. 2565 ผู้แทนสมาคมโรคตับ ฯ นายแพทย์พิสิฐตั้งกิจวานิชย์
- ปี 2565 – ปัจจุบัน ผลักดันยา และ สิทธิประโยชน์ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี อย่างต่อเนื่อง
- บัญชียาหลักแห่งชาติ 2565
- Sofosbuvir/velpatasvir
- Tenofovir alafenamide
- บัญชียาหลักแห่งชาติ 2565
ด้านประชาสัมพันธ์ และ วารสาร
- หนังสือ “แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย” กุมภาพันธ์ 2564 เผยแพร่ทางเว็บไซต์ และ เฟซบุ๊ก ของ สมาคมโรคตับ ฯ
- จัดทำประวัติสมาคมโรคตับ ฯ (ต.ค. 2565 - พ.ค. 2567)
- Journal Watch
- 1 มิ.ย. 2565 DNDi เชิญร่วมเผยแพร่แถลงการณ์ Joint Statement of Collaboration – Thailandใน วันที่ 1 มิ.ย. 2565 เวลา 12.00 น. ทางเว็บไซต์ และเฟซบุ๊ก ของ สมาคมโรคตับ ฯ
- 16 ก.ย. 2565 เผยแพร่ E book Non Alcoholic Fatty Liver Disease in Thai Population ของ ศ.นพ.พูลชัย จรัสเจริญวิทยา ทางเว็บไซต์สมาคมโรคตับ ฯ
ด้านสิทธิประโยชน์สมาชิก
- THASL member complimentary registration for IDDF meeting
- เผยแพร่คลิปวิดีโอการบรรยายงานประชุมวิชาการ APASL 2021 ของวิทยากรไทยให้สมาชิกสมาคมโรคตับ ฯ รับชมย้อนหลังทาง Facebook กลุ่มปิด
- เผยแพร่คลิปจาก SHC 2021 เรื่อง Immunosuppression in CHB – How to Manage between Low Dose Steroids and New Biologics บรรยายโดย อาจารย์ธีระพิรัชวิสุทธิ์ให้สมาสมาชิกรับชม Facebook กลุ่มปิด
ทุนวิจัยด้านโรคตับ
- ปี 2564 อนุมัติทุนวิจัย 8 ทุน ยอดรวม 1,380,000 บาท
- ปี 2565 อนุมัติทุนวิจัย 5 ทุน ยอดรวม 674,700 บาท
- ปรับปรุงประกาศการให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย ปี พ.ศ.2564
ด้านเงินออม
- เปิดบัญชีฝากประจำ และบัญชีออมทรัพย์เพื่อรับดอกเบี้ยเงินฝาก จำนวนเงิน 10 ล้านบาท ระยะเวลา 24 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.2% ต่อปี ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่นยิ่งออมยิ่งได้ จำนวนเงิน 20 ล้านบาท ระยะเวลา ฝาก10 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.2 % ต่อปี
ด้านบริจาค และ กิจกรรมเพื่อสังคม
- อนุมัติเงินสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือสังคมของนายเทวัญ อุทัยวัฒน์ เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เช่น โครงการบริจาคสื่อการเรียนการสอนให้กับ โรงเรียนพระตําหนักมหาราช ต.อ่างศิลา จ.ชลบุรี ในโครงการ Better Thailand Project
บริจาคของใช้สำนักงานต่าง ๆ ให้โรงเรียนวัดดิสหงสาราม กทม. (โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้ สมาคมโรคตับ ฯ )
1) แฟลชไดร์ฟ ความจำ 2 GB
2) ชุดสายคล้องคอ
3) PopUp FullFrame BackDrop จากงานประชุม APASL 2011
4) คอมพิวเตอร์ PC พร้อมคีบอร์ด 1 ชุด
5) เข็มกลัดงานประชุม APASL 2011
ด้านความร่วมมือกับองค์กรอื่น
- 23 พ.ค. 2565 สปสช.เชิญประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาโรคหายาก ครั้งที่ 1/2565
- 24 พ.ค. 2565 HITAP เชิญประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (UCBP 2565) กลุ่มนักวิชาการด้านสาธารณสุข
- 25 พ.ค. 2565 ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
- มิ.ย. 2565 สปสช.ขอความอนุเคราะห์กำหนดข้อบ่งชี้และเกณฑ์การรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สมาคมโรคตับ ฯสนับสนุนเรื่องการปรับปรุงเกณฑ์ต่าง ๆ ตามที่มูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ ประเทศไทย ได้นำเสนอผ่านมาทาง สปสช.
- มิ.ย. 2565 HITAP ขอเชิญร่วมเสนอ "หัวข้องานวิจัย" เพื่อพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ภายใน 21 มิ.ย. 2565 สมาคมโรคตับฯ เสนอหัวข้อการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับด้วย GALAD Score
- ก.ค. 2565 เสนอชื่อ นายแพทย์พูลชัยจรัสเจริญวิทยา เป็นผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยาในบัญชียาหลัก ฯ จากสมาคมโรคตับ ฯ
- 22 ก.ค. 2565 ประชุมคณะทำงานพิจารณายาที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ครั้งที่ 1 / 2565 วันศุกร์ที่ 22 ก.ค. 2565 เพื่อปรับเกณฑ์คุณสมบัติของแพทย์ผู้ที่สามารถสั่งจ่ายยา Sofosbuvir / Velpatasvir
- 30 ส.ค. 2565 สปสช. เชิญเสนอรายชื่อโรคหายาก (Rare Disease)
- ส.ค. 2565ร่วมร่าง Rational Laboratory Use (RLU) 6 โรคสำคัญ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการบริหารระดับกระทรวงต่อไป
- ส.ค. 2565สปสช.ขอความอนุเคราะห์ขอข้อมูลเพิ่มเติม ข้อเสนอนโยบายด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคตับ และ มะเร็งตับ
- ก.ย. 2565กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคตับ ฯ เข้าประชุมเพื่อให้ความเห็น (ร่าง) แนวทางการตรวจคัดกรอง และ รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ฉบับย่อเพื่อส่งให้ทาง สปสช.
- พ.ย. 2565 – ปัจจุบัน ประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอระบบการเงิน และ บริการเพื่อขจัดโรคไวรัสตับอักเสบ