Coffee and Liver (2)
ทำไมกาแฟจึงมีประโยชน์กับตับ?
จากการศึกษาพบว่า caffeine นั้นสามารถออกฤทธิ์เป็น antagonist ต่อ adenosine receptor ของ hepatic stellate cell ซึ่งเป็น cell หลักที่ทำให้เกิด liver fibrosis และลดระดับของ transforming growth factor-β ที่มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นกลไกของ liver fibrogenesis ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม caffeine อาจไม่ได้เป็นสารหลักในกาแฟที่ส่งผลให้เกิดผลดีต่อตับ เนื่องจากพบว่าการดื่มกาแฟแบบ decaffeinated ก็มีผลดีต่อตับไม่ต่างจากกาแฟที่มี caffeine รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มี caffeine เช่น ชา อาจไม่ได้ผลดีเท่าการดื่มกาแฟ รวมทั้งการดื่มกาแฟต่างชนิดกันก็อาจให้ผลที่แตกต่างกัน (มีการศึกษาแสดงว่าการดื่ม Espresso ให้ผลลด liver fibrosis น้อยกว่ากาแฟชนิดอื่น) ดังนั้นปัจจุบันจึงเชื่อว่าประโยชน์ของกาแฟต่อตับนั้นน่าจะมีสารอื่นๆมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น polyphenol, cafestol, kahweol และ trigenolline ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น antioxidant ประกอบกับปริมาณของ caffeine ที่แตกต่างกันในกาแฟต่างชนิดส่งผลให้ผลการศึกษาในประเด็นนี้ยังมีความหลากหลาย
เราจะแนะนำผู้ป่วยอย่างไร?
ปัจจุบันมีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าการดื่มกาแฟในปริมาณ 2-4 แก้วต่อวัน (แก้วละประมาณ 8 ออนซ์) มีประโยชน์ในผู้ป่วย chronic liver diseases ในแง่ของการชะลอ liver fibrosis progression และลดการเกิด HCC แต่การดื่มในปริมาณที่มากกว่านี้ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าได้ประโยชน์ต่อตับ และการได้รับ caffeine ที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยในด้านอื่น รวมทั้งควรระมัดระวังหากจะแนะนำการดื่มกาแฟในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย รวมทั้งควรระมัดระวังเรื่องปริมาณของน้ำตาลในกาแฟ เนื่องจากการรับประทานน้ำตาลที่มากเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะ NAFLD อีกด้วย